0
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
สาขาแพทย์
ศัลยแพทย์
แพทย์ออร์โธปิดิกส์
จักษุแพทย์
โสต ศอ นาสิก
กุมารแพทย์
ประสาทศัลยแพทย์
ทันตแพทย์
วิสัญญีแพทย์
อายุรแพทย์
แบรนด์
สินค้า
พันธมิตร
บทความ
คลังวิดีโอ
ร่วมงานกับเรา
ติดต่อเรา
0
ไทย
|
EN
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
สาขาแพทย์
ศัลยแพทย์
แพทย์ออร์โธปิดิกส์
จักษุแพทย์
โสต ศอ นาสิก
กุมารแพทย์
ประสาทศัลยแพทย์
ทันตแพทย์
วิสัญญีแพทย์
อายุรแพทย์
แบรนด์
สินค้า
พันธมิตร
บทความ
คลังวิดีโอ
ร่วมงานกับเรา
ติดต่อเรา
เลือกดู -
ทั้งหมด
Microaire
Endotine
PAL
Oasis
Teijin
Synovis
BFW
BFW | 13 ส.ค. 2564
การผ่าตัดสร้างภาระกับส่วนไหนของร่างกายในศัลยแพทย์ มากที่สุด
แพทย์สาขาที่ต้องลงไม้ลงมือ หรือ ยืนเป็นเวลานานๆ คงไม่พ้นศัลยแพทย์สาขาต่างๆ ในห้องผ่าตัด ทีต้องเคลื่อนไหวผิดท่าผิดทางอย่าง ก้ม หรือ เงย เป็นระยะเวลานาน แต่ทีนี้ การเคลื่อนไหวผิดท่าผิดทางติดกันเป็นระยะเวลานานๆ ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆโดยเฉพาะทีเกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ เช่นการเจ็บปวดเรื้อรังในบริเวณที่ใช้งานหนักได้ จึงมีแนวคิดศึกษาการเคลื่อนไหวของศัลยแพทย์ว่าส่วนไหนที่เป็นอันตราย (ผิดหลังสรีระศาสตร์ หรือ ergonomic) มากที่สุด โดยการติด sensor บนตัวศัลยแพทย์ เพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวผิดท่าที่ส่งผลต่อร่างกาย จากศัลย์แพทย์ 53 ราย จาก 11 เฉพาะทาง พบว่า 65% ของเวลาที่ศัลยแพทย์ใช้ในการผ่าตัด จะมีการเคลื่อนไหวที่สร้างภาระต่อร่างกายในระยะยาว โดยเฉพาะบริเวณหลัง และ ลำคอ ที่พบมากที่สุด #BfwHeadlight #SurgicalHeadlights #PsHospitalProduct ขอบคุณข้อมูล by Health box UN https://raynus.wordpress.com/2020/03/12/การผ่าตัดสร้างภาระกับส/?fbclid=IwAR0i_VgMr5V9gVToJX0QmzBK_HyU8qtVKO-M0NX2iNgcU25Ha6sByHnICsU
Oasis | 12 ส.ค. 2564
4 วิธีการดูแลป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับในผู้สูงวัย ในภาวะการนอนติดเตียง
4 วิธีการดูแลป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับในผู้สูงวัย ในภาวะการนอนติดเตียง 1.การเปลี่ยนและจัดท่าของผู้ป่วย โดยยึดเอาตามความสามารถในการขยับ และการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยเป็นที่ตั้ง หากผู้ป่วยนอนติดเตียงไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เลยควรเปลี่ยนท่านอนใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมง อาจจะเป็นถ้านอนหงายแล้วนอนตะแคงโดยอาจใช้หมอนข้างนิ่ม ๆ มากั้น รวมถึงใช้หมอนนิ่ม ๆ ใบเล็กแทรกอยู่ตามระหว่าง ปุ่มกระดูกที่อาจกดทับกันจนเป็นแผลได้ หากผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้แต่สามารถนั่งบนรถเข็นควรจะเปลี่ยนท่านั่งใหม่ทุก ๆ 1 ชั่วโมง 2. ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับมาก ไม่ว่าจะเป็นการช่วยเหลือตัวเองได้น้อยมีภาวะโรคประจำตัวเยอะ ขาดสารอาหารรวมถึงมีปุ่มกระดูกขนาดใหญ่ที่ตำแหน่งกดทับ สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับ เสริมได้ เช่น หมอนนุ่ม ๆ ที่จะช่วยลดแรงกดทับได้ หรือเจลรองตำแหน่งกดทับเป็นต้น 3. การป้องกันภาวะผิวหนังที่แห้งหรืออับชื้นมากจนเกินไป ในกรณีผู้ป่วยไม่สามารถกลั้นปัสสาวะอุจจาระได้ แต่หากยังช่วยเหลือตัวเองได้ควรจัดตารางการเข้าห้องน้ำให้เป็นเวลา เปลี่ยนเสื้อผ้าที่ใช้อยู่ให้สะอาดเป็นประจำ รวมถึงอาจใช้ยา ครีมทาเคลือบผิว เพื่อลดอาการระคายเคือง หลังจากขับถ่าย เช่น มอยเจอร์ไรเซอร์ (Moisturizer) ทาผิวหลังอาบน้ำ และหลังทำความสะอาด ควรปรึกษาแพทย์ เพราะอาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่นแผลเบาหวาน ผื่นแพ้ผ้าอ้อม แพ้เทปปิดผิวหนัง หากเกามาก ๆ ไปนาน ๆ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อันตรายมาก ๆ 4. การดูแลด้านโภชนาการให้ผู้สูงวัยได้รับอย่างครบถ้วน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ได้รับอาหารผ่านทางสายยาง รวมถึงผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ การคำนวณปริมาณการรับสารอาหารหลัก ทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันชนิดดี ไขมันอิ่มตัว และชนิดทรานส์ ผักผลไม้ที่มีกากใยสูง และการให้สารอาหารหรือวิตามินเสริมในสัดส่วนที่พอเหมาะ ในรายที่เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร เสริมในปริมาณที่เหมาะสมในแต่ละรายก็เป็นสิ่งจำเป็น หากภาวะโภชนาการดี ก็จะทำให้โอกาสการเกิดแผลน้อยลง แม้ว่าจะเป็นแผลก็ฟื้นตัวได้ไวครับ ติดต่อสอบถามบริการสินค้าและได้ที่ FB: Oasis Thailand FB: https://www.facebook.com/OasisPressureUlcer LINE :@pshospitalproduct LINE Official : https://lin.ee/xxDioPV #OasisThailand #เจลป้องกนัแผลกดทับ #PsHospitalProduct ดูน้อยลง
Synovis | 9 ส.ค. 2564
การผ่าตัดต่ออวัยวะ คืออะไร?
การผ่าตัดต่ออวัยวะ คืออะไร หมายถึง การผ่าตัดที่กระทำในผู้ป่วยที่มีอวัยวะอันได้แก่ แขน ขา มือ นิ้วหรืออวัยวะเพศขาดออกไปจากร่างกาย หรือไม่ขาดออกไปจากร่างกายหมด แต่เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วน ที่ได้รับบาดเจ็บถูกทำลาย การผ่าตัดนี้จะต้องมีการเชื่อมต่อเส้นเลือด หรือสร้างเส้นเลือดขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เลือดไหลไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ ส่วนที่อยู่ปลายอวัยวะที่ต่อนั้นให้มีชีวิตอยู่ได้ ผลการผ่าตัดต่ออวัยวะ สิ่งที่แพทย์หวังนั้น มิใช่เพียงให้ผู้ป่วยรายนั้นๆมีอวัยวะอยู่ครบเท่านั้น แต่ต้องการให้อวัยวะที่อยู่นั้นสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งเป็นผลระยะยาวและขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างคือ 1. สภาพความชอกช้ำของเนื้อเยื่อที่นำมาผ่าตัด ต่อความสกปรก การติดเชื้อก่อนมาพบแพทย์ เช่น ถูกรถเฉี่ยวแขนขาดแล้วแขนตกลงไปในน้ำครำ เป็นต้น ปัจจัยนี้มีผลต่อการอุดตันของหลอดเลือดหลังผ่าตัดทั้งสิ้น 2. ประสบการณ์ของทีมแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด 3. ความเข้าใจ ความร่วมมือของผู้ป่วยในการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ทั้งในระยะก่อนและหลังผ่าตัด 4. การวางแผนการรักษาที่ต่อเนื่องอย่างเหมาะสม ติดต่อสอบถามบริการและสินค้าได้ที่ FB: Synovis Thailand FB:https://www.facebook.com/SynovisThailand LINE :@genicon LINE Official : https://lin.ee/wabpdzo #SynovisThailand #เครื่องมือต่อเส้นเลือด #Genicon
Endotine | 9 ส.ค. 2564
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis)
ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) คือภาวะที่ลืมตาไม่สุด เปลือกตาด้านบนปิดลงมามากกว่าปกติ ทำให้เห็นตาดำไม่ครบวง ทำให้ดูตาปรือ ลืมตายาก หากเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง 2 ข้าง จะทำให้เหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา ดูเหนื่อยเพลีย แต่ถ้าเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงข้างเดียวจะเห็นได้ชัดว่าตาไม่เท่ากัน ตาข้างที่เป็นจะตกลงมาปิดตามากกว่า กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอาจเป็นมาแต่กำเนิดอยู่แล้ว หรือเกิดขึ้นภายหลังจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการใส่คอนแทคเลนส์ หรือขยี้ตาเป็นนิสัย บางคนมีตาสองชั้นอยู่แล้ว แต่รู้สึกว่าตาไม่สวย อยากให้ตาสวยขึ้น อยากตาโต หรือคนชอบทักว่าตาดูเหนื่อย ดูง่วงนอนตลอดเวลา ตาง่วง ไม่สดใส หรือทำตาสองชั้นมาแล้ว แต่ไม่สวย ตาปรือๆ การทำตาสองชั้นโดยไม่แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะทำให้ชั้นตาไม่เท่ากัน เนื่องจากการเปิดของตาไม่เท่ากัน ข้างที่มีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจะมีชั้นตาใหญ่กว่า ยิ่งทำให้ดูต่างกันมากขึ้น ชั้นตาเป็นหลายชั้น เราสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวพร้อมกับทำให้ดูสวยขึ้นได้ในครั้งเดียว ด้วยการทำ Endotine Transbelph เจ็บครั้งเดียว สวยไปอีกนาน ติดต่อสอบถามบริการสินค้าและได้ที่ FB: Endotine Thailand FB:https://www.facebook.com/EndotineThailand LINE :@genicon LINE Official :https://lin.ee/wabpdzo #EndotineThailand #ดึงหน้าแผลเล็กย้อนวัย #Genicon